เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 7. ปฐมอนาคตภยสูตร
ฉันแล้วไม่พึงย่อยก็ได้ ดีของเราพึงกำเริบก็ได้ เสมหะของเรา
พึงกำเริบก็ได้ หรือลมมีพิษดังศัสตราของเราพึงกำเริบก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 2 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้ายคือราชสีห์ เสือโคร่ง
เสือเหลือง หมี หรือเสือดาวก็ได้ สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึง
ตายก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยัง
ไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 3 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้ายผู้ก่อคดีแล้วหรือ
ยังไม่ได้ก่อคดีก็ได้ พวกคนร้ายนั้นพึงปลิดชีวิตเราเสียก็ได้ เพราะ
เหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ เราจะปรารภ
ความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ
เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 4 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :139 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 3. โยธาชีวรรค 8. ทุติยอนาคตภยสูตร
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้อยู่ป่าพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เราอยู่ในป่า
ผู้เดียว ก็ในป่ามีพวกอมนุษย์1 ดุร้าย พวกอมนุษย์นั้นพึงปลิดชีวิต
เราก็ได้ เพราะเหตุนั้น เราพึงตาย เราพึงมีอันตรายนั้น เอาเถอะ
เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่
ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง’
ภิกษุผู้อยู่ป่า เมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคตประการที่ 5 นี้ ควรเป็นผู้ไม่
ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่าเมื่อเห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้แล ควรเป็นผู้
ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม
ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ปฐมอนาคตภยสูตรที่ 7 จบ

8. ทุติยอนาคตภยสูตร
ว่าด้วยภัยในอนาคต สูตรที่ 2
[78] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อพิจารณาเห็นภัยในอนาคต 5 ประการนี้ ควร
เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ
บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง
ภัยในอนาคต 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘บัดนี้ เรายังเป็นคนหนุ่มแน่น
มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ใน
ปฐมวัยก็จริง ถึงกระนั้น ก็ยังมีสมัยที่ชราจะถูกต้องกายนี้ได้ การ
ที่บุคคลผู้แก่ถูกชราครอบงำแล้วจะมนสิการถึงคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า มิใช่ทำได้ง่าย ทั้งจะอาศัยเสนาสนะอันเงียบสงัด คือ

เชิงอรรถ :
1 อมนุษย์ หมายถึงยักษ์เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/77/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :140 }